ประวัติความเป็นมา

สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย

ประวัติความเป็นมาก่อนจะมาเป็น สำนักงานรัฐมนตรี
        นับแต่มีพระบรมราชโองการจัดตั้ง กระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2435) โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี เมื่อเริ่มรับตำแหน่ง ได้จัดสรรอำนาจหน้าที่ในเบื้องต้นของกระทรวงมหาดไทยออกเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ และกรมพลำภัง

“กรมมหาดไทยกลาง” จะมีปลัดทูลฉลองเป็นหัวหน้า และทำหน้าที่ทั่วไปที่มิใช่งานของกรมอื่นนั่นก็คือลักษณะงานส่วนหนึ่งของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบันนั่นเอง

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 (สมัยรัชกาลที่ 6) มีการจัดตั้ง “กรมบัญชาการกระทรวงมหาดไทย” ขึ้นมีเสนาบดีเป็นหัวหน้า ปลัดทูลฉลอง เป็นผู้ช่วย และมีที่ปรึกษาเสนาบดี 1 นาย กรมนี้มีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการทั้งกระทรวงมหาดไทย จนถึงปี พ.ศ. 2476

        ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ. 2476 กำหนดให้มีกรมเลขานุการรัฐมนตรี และกรมปลัดขึ้นในกระทรวงมหาดไทย งานของ ทั้ง 2 กรม จึงแยกจากกันอย่างชัดเจน และในปีเดียวกันนี้ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อกรมทั้ง 2 เป็นสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวง และเป็นชื่อที่ใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขกฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้งก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

        เมื่อจัดตั้ง “สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี” ในปี พ.ศ. 2476 แล้ว ได้มีพระราชกฤษฎีกา การจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2476 ขึ้น แบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีเป็น 2 แผนก คือ

  1. แผนกการเมือง
  2. แผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็นต่อมาภายหลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีแบ่งส่วนราชการเป็น 3 ฝ่าย คือ
         2.1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
         2.2. ฝ่ายตรวจสอบเรื่องราว
         2.3. ฝ่ายการเมืองและประสานนโยบายภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

        ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 กำหนดให้สำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี มีเลขานุการรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติราชการของสำ นักงานเลขานุการรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และมีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีและมีหน้าที่ ดังนี้

  1. รวบรวมและเสนอข้อมูลเพื่อช่วยในการสั่งการของรัฐมนตรี
  2. ติดต่อประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ๆ
  3. ติดต่อและสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์
  4. ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ให้แก่ รัฐมนตรี
  5. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตอบกระทู3และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ทางการเมืองจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี มาเป็น สำนักงานรัฐมนตรี

        ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 
2 ตุลาคม 2545 หมวด 13 มาตรา 30 กำหนดให้ "กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคมการส่งเสริมการพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัยและการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย" และกำหนดส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 31 ดังนี้

        "มาตรา 31" กระทรวงมหาดไทย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
                (1) สำนักงานรัฐมนตรี                  (5) กรมที่ดิน
                (2) สำนักงานปลัดกระทรวง         (6) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                (3) กรมการปกครอง                     (7) กรมโยธาธิการและผังเมือง
                (4) กรมการพัฒนาชุมชน              (8) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย
        กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2545 กำหนดให้สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
  2. สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรัฐสภา และประชาชน
  3. ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
  4. ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย